NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พบสัญญาณที่อาจจะมี สิ่งชีวิตบนดาวศุกร์

NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ พบสัญญาณอาจมี “สิ่งชีวิตบนดาวศุกร์”

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563 เวลา 22.00 น. NARIT หรือสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เปิดเผยข้อมูลการค้นพบครั้งใหม่ของนักดาราศาสตร์เกี่ยวกับ สิ่งชีวิตบนดาวศุกร์ ซึ่งดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะจักรวาลที่นักวิทยาศาสตร์ฝากความหวังว่าอาจจะเป็นดาวที่เคยมีสิ่งมีชีวิตอยู่ หรืออาจจะยังมีอยู่ เพราะโครงสร้างทั่วไปของดาวศุกร์มีความคล้ายคลึงกับโลกมาก ทั้งทางกายภาพ และธาตุต่าง ๆ ที่ปรากฏบนดาวศุกร์

NARIT เผยข้อมูลการค้นพบสิ่งชีวิตบนดาวศุกร์

NARIT เผยข้อมูลการค้นพบสิ่งชีวิตบนดาวศุกร์

การค้นพบ สิ่งชีวิตบนดาวศุกร์ ในครั้งนี้นำทีมโดย Jane Greaves งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารดาราศาสตร์ Nature Astronomy ในวันที่ 14 กันยายน 2563 มีการค้นพบสิ่งที่บ่งชี้ว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวศุกร์ นั่นก็คือการค้นพบโมเลกุลของฟอสฟีน ฟอสฟีนคืออะไร ? และมีความสำคัญต่อการค้นพบครั้งนี้อย่างไร ฟอสฟีนเป็นโมเลกุลที่เป็นสารประกอบระหว่างฟอสฟอรัส แลฃฃไฮโดรเจน ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายกับแอมโมเนียแต่ถูกแทนที่ด้วยฟอสฟอรัส เป็นสารประกอบที่ชื่อฟอสฟีนนั่นเอง

แล้วนักวิทยาศาสตร์ค้นพบสารประกอบนี้ได้อย่างไร เพราะพื้นผิวของดาวศุกร์นั้นมีอุณภูมิสูงมากจนหลอมละลายตะกั่วได้ เหตุจากสภาวะเรือนกระจกที่ไม่สามารถเยียวยาแก้ไขได้ และในชั้นบรรยากาศก็ยังเต็มไปด้วยกำมะถันที่เป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจด้วย การค้นพบธาตุ หรือสารประกอบต่าง ๆ ในดาวดวงอื่นนั้นทำได้ด้วยการาตรวจจับสเปคตรัมที่ธาตุนั้น ๆ ปล่อยออกมา โดยนักดาราศาสตร์ หรือนักวิทยาศาสตร์จะตรวจดูว่าสเปคตรัมที่ธาตุต่าง ๆปล่อยมานั้น ตรงกับธาตุใดที่มีอยู่ในตารางธาตุ ซึ่งการตรวจจับเปคตรัมจะดูผ่านกล้องโทรทัศน์ที่อยู่บนภูเขาสูง ซึ่งครั้งนี้กล้องโทรทัศน์ James Clerk Maxwell Telescope บนยอดเขา โมนาเคอา หมูเกาะฮาวาย ตรวจจับการปล่อยสเปคตรัมของฟอสฟีนได้เป็นตัวแรก หลังจากนั้นจึงมีการศุกษาซ้ำด้วยกล้องโทรทัศน์วิทยุอีก 45  ตัวของ  ALMA กลางทะเลทราย ประเทศชิลี และการศึกษาซ้ำในครั้งนี้ก็ยืนยันการดูดกลืนของรังสีที่ตรงกับช่วงคลื่นของฟอสฟีน การค้นพบในครั้งนี้จึงเป็นการยืนยันการมีอยู่จริงของฟอสฟีนบนดาวศุกร์ ซึ่งเป็นสัญญาณของสิ่งชีวิตบนดาวศุกร์

การค้นพบในครั้งนี้จึงเป็นการยืนยันการมีอยู่จริงของฟอสฟีนบนดาวศุกร์ ซึ่งเป็นสัญญาณของ สิ่งชีวิตบนดาวศุกร์ นั้นเอง

ทำไมการค้นพบครั้งนี้จึงสำคัญ ? เพราะฟอสฟีนบนโลกของเราพบได้สองรูปแบบ แบบแรกคือการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งนำมาใช้ในการเกษตร และแบบที่สองเกิดจากสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีออกซิเจน ซึ่งฟอสฟีนบนโลกเกิดจากปฏิกริยา Reduction ของสารประกอบฟอสเฟต ซึ่งการได้ฟอสฟีนจากปฏิกริยารีดักชั่นนี้เกิดได้จากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น และฟอสฟีนเป็นสารที่เกิดปฏิกริยากับสารตัวอื่นได้ง่าย หากพบว่ามีอยู่ในชั้นบรรยากาศได้ก็หมายความว่ามีการผลิตออกมาชดเชยอยู่เสมอ ซึ่งสิ่งที่จะผลิตฟอสฟีนได้ก็คือสิ่งมีชีวิต เมื่อพบฟอสฟีนอยู่ในชั้นบรรยากาศของดาวศุกร์ ซึ่งหมายถึงข้อสันนิษฐานที่ว่า สิ่งชีวิตบนดาวศุกร์ มีอยู่จริงนั้นมีความเป็นไปได้จริงเกิดขึ้นแล้ว

อย่าลืมติดตาม ข่าวประจำวัน ข่าวดัง ข่าวเด่น ได้ที่เว็บหมีข่าว เพราะหมีขาวมีข่าวมาฝากเสมอ…